การให้อาหารไก่ไข่ระยะต่างๆ

25 ม.ค.
การให้อาหารไก่ไข่ระยะต่างๆ
1.
ไก่ไข่เล็ก – รุ่น
  การเลี้ยงลูกไก่ในระยะแรกผู้เลี้ยงควรหมั่นดูแลเอาใจใส่และเติมอาหารในรางให้ลูกไก่มีกินได้ตลอดเวลาเพราะถ้าลูกไก่ ได้รับ อาหารไม่พอจะทำให้อ่อนแอและโตช้า การให้อาหารลูกไก่ในช่วง 2-3 วันแรกควรใช้วิธีโรยอาหารบนกระดาษหรือถาดใต้เครื่องกก เพื่อช่วยให้ลูกไก่กินอาหารได้เร็วขึ้น ในระยะไก่เล็ก-รุ่นนี้ควรให้กินอาหารอย่างเต็มที่เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต และเตรียมโครงสร้างของร่างกายให้มีขนาดใหญ่ สามารถเก็บสะสมพลังงานสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็น
2.
ไก่ไข่สาว
การให้อาหารแก่ไก่ไข่สาวนั้น ไม่ควรให้กินอาหารอย่างเต็มที่ ควรมีการจำกัดอาหารที่ให้โดยเริ่มเมื่อไก่อายุได้ 12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสุขภาพความสมบูรณ์ของไก่ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวไก่ให้มีขนาดตามสายพันธุ์ที่บริษัทผู้ผลิตไก่แนะนำหรือได้น้ำหนักตามมาตรฐานที่แสดงไว้ในตาราง 1 โดยสุ่มไก่จากส่วนต่างๆ ของคอก จาก 10% ของฝูงมาชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ ไก่รุ่นก่อนไข่ที่ปล่อยให้อ้วนและมีน้ำหนักตัวมากเกินไปจะให้ไข่เร็วแต่ให้ไข่ไม่ทน ข้อควรระวังในการจำกัดอาหารคือต้องจัดรางอาหารให้มีเพียงพอให้ไก่กินทุกวัน และพยายามกระจายอาหารให้ทั่วถึงภายในเวลาอันรวดเร็วเพื่อให้ไก่ได้กินอาหารเท่าๆ กันและมีขนาดสม่ำเสมอกัน และสิ่งที่สำคัญอีอย่างหนึ่งคือ ถ้าไก่มีน้ำหนักมากเกินไปไม่ควรลดอาหารที่ให้กิน ให้ใช้วิธีชะลอการเพิ่มปริมาณอาหารไว้จนกว่าไก่จะมีน้ำหนักได้ตามมาตรฐาน
3.
ไก่ไข่ระยะให้ไข่
ปริมาณการกินอาหารของไก่ไข่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ อัตราการไข่ น้ำหนักตัวไก่และอุณหภูมิแวดล้อม เป็นต้น เกษตรกรอาจคิดคำนวณปริมาณอาหารที่ให้กินในแต่ละวันดังนี้
1. ให้อาหารสำหรับการดำรงชีพ วันละ 63 กรัม สำหรับตัวไก่ไข่ที่มีน้ำหนักตัว 2 กก. และเลี้ยงแบบปล่อยพื้นคอกภายในโรงเรือนที่มีอุณหภูมิแวดล้อม 25  ํC
2. ให้อาหารเพิ่มวันละ 7 กรัม สำหรับอัตราการไข่ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10% โดยเริ่มจากอัตราการไข่ 0%
3. ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1.2 กรัม สำหรับน้ำหนักไก่ที่เพิ่มขึ้น/ลดลง ทุกๆ 50 กรัม จากน้ำหนัก 2 กก.
4. ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1.4 กรัม เมื่ออุณหภูมิลดลง/สูงขึ้น ทุกๆ 1 ํC จากอุณหภูมิ 25  ํC
5. ให้อาหารลดลง วันละ 5 กรัม ถ้าเป็นการเลี้ยงบนกรงตับ
6. ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1 กรัม สำหรับระดับพลังงานในอาหารที่ลดลง/เพิ่มขึ้น ทุกๆ 50 กิโลแคลอรี่/กก. จากระดับพลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,750 กิโลแคลอรี่/กก. ในสูตรอาหาร
ตารางที่ 3 แสดงความต้องการสารอาหารของแม่ไก่ไข่ระยะให้ไข่ (คิดเป็นปริมาณที่ได้รับ/วัน)
สารอาหารที่ต้องการ
(มิลลิกรัม/วัน)
ไก่ไข่พันธุ์ที่ให้เปลือกไข่สีขาว
กินอาหารเฉลี่ย 100 กรัม/วัน
ไก่ไข่พันธุ์ที่ให้เปลือกไข่สีน้ำตาล
กินอาหารเฉลี่ย 110 กรัม/วัน
โปรตีน
กรดอะมิโนจำเป็นต้องมีในอาหาร
ไลซีน
เมทไธโอนีน+ซิสตีน
ทริปโตเฟน
ทรีโอนีน
ไอโซลูซีน
อาร์จินีน
ลูซีน
เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน
ฮีสติดิน
เวลีน
แคลเซี่ยม
ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ได้
เกลือ
15,000

690
580
160
470
650
700
820
830
170
700
3,250
250
350

16,500

760
645
175
520
715
770
900
910
190
770
3,600
275
385

    ที่มา : NRC(1994)

ตารางที่ 4 แสดงความต้องการพลังงานใช้ได้ในแต่ละวันของแม่ไก่ไข่ที่มีน้ำหนักตัวและอัตราการ
ให้ผลผลิตไข่แตกต่างกัน (กิโลแคลอรี่/วัน)
น้ำหนักตัวไก่(กิโลกรัม)
อัตราการให้ผลผลิตไข่ (%)
0
50
60
70
80
90
1.0
1.5
2.0
2.5
3.0
130
177
218
259
296
192
239
280
321
358
205
251
292
333
370
217
264
305
346
383
229
276
317
358
395
242
289
330
371
408
    ที่มา : NRC(1994)
  ในการเปลี่ยนสูตรอาหารใหม่แต่ละครั้ง ผู้เลี้ยงไม่ควรให้อาหารใหม่อย่างทันทีทันใด เพราะจะทำให้ไก่เกิดความเครียด ชะงักการเจริญเติบโตและการให้ไข่ลดลงได้ ควรจะนำอาหารใหม่มาผสมกับอาหารสูตรเดิมแล้วค่อยๆ ลดอาหารสูตรเดิมลง จนเปลี่ยนเป็นอาหารสูตรใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ไก่เกิดความคุ้นเคยและปรับตัวได้

ใส่ความเห็น